ไม่อยากเจ๊งต้องรู้ ก่อน ทำตลาดนัด ต้องดูอะไรบ้าง

ทำธุรกิจตลาดยังไงไม่ให้เจ๊ง

ตลาดนัดเรียกได้ว่าเป็นที่นัดหมาย หรือที่ชุมนุมของผู้คนหลากหลาย โดยมีทั้งมาจับจ่ายใช้สอยและมาทำการค้าขาย โดยตลาดนัดนั้นถูกจัดขึ้นเฉพาะวันและเวลาที่กำหนดให้ขายเท่านั้น

เปิดตลาดนัด

ก่อน เปิดตลาดนัด ต้องคำนึงถึง 4 ข้อนี้

1. กฎหมายและการขออนุญาต ทำตลาดนัด

การจดทะเบียนธุรกิจดทะเบียนธุรกิจ

  • หากทำตลาดนัดเป็นแบบนิติบุคคล ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด 
  • หากทำการเปิดเป็นบคคลธรรมดา และกรณีที่รายได้ถึงเกณฑ์ ตลาดจะต้องจดทะเบียนเป็นพาณิชย์

การขออนุญาตก่อสร้างและใช้พื้นที่

  • ก่อนทำตลาดนัดต้องตรวจสอบก่อนว่า พื้นที่เปิดตลาดนั้นใกล้เขตชุมชนหรือไม่ และเมื่อก่อตั้งเป็นตลาดแล้วจะขวางการจราจรหรือพื้นที่สาธารณะหรือไม่นั่น
  • ต้องทำการขออนุญาตใช้พื้นที่และขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่หรือเขตนั้น ๆ ด้วย
  • ขออนุญาตใช้พื้นที่ตามกฎหมาย โดยหากเป็นตลาดเอกชน ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการตลาดจากเทศบาลหรือสำนักงานเขตพื้นที่นั้น ๆ หากเป็นพื้นที่ราชการต้องขออนุญาตและทำสัญญาเช่าจากหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่

ปฏิบัติตามกฏหมายสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข

  • คำนึงถึงความสะอาดตามมาตรฐานด้านความสะอาด (พระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535)
  • ต้องคำนึงถึงการติดตั้งท่อระบายน้ำ ระบบระบายน้ำเสีย ที่กำจัดขยะมูลฝอย รวมถึงการจัดการของเสียที่จะเกิดขึ้นภายในตลาด ไม่ให้เป็นมลภาวะหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน

2. การออกแบบและจัดการตลาด

อำนวยความสะดวกให้กับผู้คนมาเดินตลาด

  • ตลาดต้องใกล้แหล่งชุมชน
  • มีพื้นที่จอดรถ
  • ไม่แออัดจนเกินไป
  • ไม่ปิดขวางการจราจ พื้นที่ราชการ และที่อยู่อาศัย

พื้นที่ขายสินค้าจะต้องแบ่งแยกโซนอย่างชัดเจน

  • โซนอาหาร โซนของใช้ โซนเสื้อผ้า ฯลฯ จะต้องแบ่งหมวดหมู่ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายและไม่สับสน
  • แยกโซนห้องน้ำ และโซนกำจัดขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลให้ชัดเจน และโโซนห้องน้ำจะต้องไม่อยู่ในพื้นที่ลับตาคนมากเกินไป

ระบบรักษาความปลอดภัย

  • ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ทั่วทั้งตลาด
  • จัดเจ้าหน้าที่มาดูแลความปลอดภัยภายในตลาด
  • จัดสรรระบบป้องกันอัคคีภัย ไม่ว่าจะเป็น ถังดับเพลง จุดหนีไฟ ฯลฯ
  • หากตลาดนัดเปิดในช่วงกลางคืนควรติดตั้งไฟฟ้าให้สว่างทุกจุด หากตลาดมืดก็อาจทำให้ลูกค้าหายและทำให้ตลาดไม่ปลอดภัยอีกด้วย

3. การบริหารจัดการตลาด

จัดสรรพื้นที่แผงค้าภายในตลาดให้น่าเดิน

  • กำหนดขนาด พื้นที่ ของแผงค้าไม่ให้ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป
  • จัดระเบียบการใช้พื้นที่ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทกันเกิดขึ้น

สัญญาเช่าต้องชัดเจน

  • สัญญาจะต้องกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน
  • ระบุสิทธิประโยชน์
  • ระบุสิทธิหน้าที่ ฯลฯ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และการจัดเก็บภาษี

  • ภาษีที่เกี่ยวข้องที่เจ้าของตลาดต้องรับผิดชอบ
  • ค่าบริการอื่น ๆ ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารักษาความสะอาด ฯลฯ

วิธีการโปรโมตตลาด

  • การทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์จากช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางออฟไลน์หรือออนไลน์ เป็นต้น
  • จัดกิจกรรมโปรโมต จัดโปรโมชั่น รวมถึงกิจกรรมดึงดูดใจลูกค้าอย่างไร ให้เข้ามาเดินตลาดมากขึ้น

4. สัญญาผู้ค้า กฎหมายแรงงานการจ้างแรงงาน

  • การจ้างงานหรือจ้างแรงงานในตลาด จะต้องทำอย่างถูกกฎหมาย โดยต้องทำสัญญาจ้างและจ่ายค่าข้างตามกฎหมายแรงงาน
  • หากเป็นการใช้แรงงานต่างด้าว เจ้าของตลาดจะต้องทำเอกสาร ทำสัญญาจ้าง และมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง
  • สัญญาผู้ค้าจะต้องระบุถึงระเบียบ ข้อปฏิบัติตามกฎตลาด เช่น เวลาขาย การดูแลความสะอาด ระบุข้อกำหนด ระเบียบข้อบังคับ รวมถึงรายละเอียดการจัดตั้งร้านไม่ให้เกินกว่าที่กำหนด เป็นต้น

หากในกรณีที่ตลาดมีสิ่งปลูกสร้าง จะต้องทำการขออนุญาตในการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจะอยู่ใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จนถึง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2558 ที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน

  • หากต้องการก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้าย อาคารสิ่งปลูกสร้าง ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อาคารสำหรับพาณิชยกรรม ต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนด

นอกจากการขออนุญาตจัดตั้งตลาดที่ต้องรู้ สิ่งที่ควรรู้ในการขออนุญาตจัดตั้งตลาดอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือ การขอต่อใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตแทน

  • การขอต่อใบอนุญาต โดยมีแนวทางในการขออนุญาตมีแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับการออกใบอนุญาต ซึ่งการขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตเดิมจะสิ้นอายุ
  • การขอต่ออนุญาตสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องเมื่อทำตามข้อปฏิบัต ตามข้อกฎหมาย และตามกฎระเบียบข้อบังคับของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จนกว่าจะมีการสั่งเพิกถอนและไม่ต่อใบอนุญาตให้
  • การออกใบแทนใบอนุญาต ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด สำหรับการขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อกำหนดท้องถิ่น

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยหลักที่ก่อนเปิดตลาดนัดหรือทำตลาดนัดควรรู้ เพราะหากโฟกัสเพียงแค่การมีพื้นที่ว่าง มีเงินทุน มีทำเลที่เข้าถึงได้ง่าย แค่นั้นยังไม่พอ ฯลฯ ยังต้องคำนึงข้อกฎหมาย ข้อระเบียบบังคับของชุมชน รวมถึงการขออนุญาตจัดตั้งร่วมด้วย เพราะหากไม่ทำตามระเบียบ ข้อบังคับ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพบก็จะอาจถูกปิดทันที

สำหรับผู้ที่ต้องการเปิดตลาดนัด หรือเป็นเจ้าของตลาดเปิดใหม่ และกำลังวางแผนสร้างตลาดเพิ่ม สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเปิดตลาดแห่งใหม่กันได้เลย นอกจากนี้สิ่งที่อยากแนะนำเพิ่มเติมสำหรับเจ้าของตลาดทุกคน คือ ต้องมีผู้ช่วยบริหารตลาดเพื่อความเป็นมืออาชีพมากขึ้นอย่าง “โปรแกรม Myket Pro” คือโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจตลาดโดยเฉพาะ เริ่มต้นดูแลตั้งแต่การจัดแผง การเก็บค่าเช่า รายงานสรุป วิเคราะห์ธุรกิจ รวมถึงการจัดการตลาดในส่วนอื่น ๆ ที่จะช่วยสร้างความเป็นมืออาชีพได้อย่างสมบูรณ์แบบ และทำให้การดูแลตลาดเป็นมืออาชีพมากขึ้น

นอกจากเตรียมความพร้อมในการเตรียมข้อมูลและเตรียมความพร้อม อีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำเพื่อให้การบริหารตลาดเป็นมืออาชีพ คือ การติดตั้ง โปรแกรมช่วยบริหารตลาด อย่าง Myket Pro เข้ามาช่วยบริหาร จะยิ่งทำให้การทำงานหรือการดูแลตลาดสะดวกสบายและเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของตลาดมีเวลาไปทำงานอย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top