Resources

ทวงหนี้ – แบบถูกกฏหมายที่คนทำแผงเช่าต้องรู้

“ทวงหนี้” แบบถูกกฏหมายที่คนทำแผงเช่าต้องรู้ ทวงหนี้ หมายถึง การเรียกเอาเงินที่เป็นของตน หรือ. สิ่งที่ติดค้างกลับคืน ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีทำให้หลายคนประสบปัญหาทางการเงินจนต้องผิดนัดชำระหนี้แต่ถึงเขาจะเป็นหนี้เรา “การทวงหนี้” ของเราก็ควรเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และคำนึงถึงสิทธิของลูกหนี้ ใครมีสิทธิทวงหนี้? ผู้มีสิทธิทวงหนี้คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ซึ่งในกรณีผู้รับมอบอำนาจมาทุกกรณี หากลูกหนี้ทวงถามต่อหน้าต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดงด้วย (ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในบทความนี้เราได้นำความรู้จาก สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) เกี่ยวกับกติกาการทวงหนี้แบบถูกกฏหมายมาแชร์ให้ทุกคนรู้กัน กติกาการ “ทวงหนี้” 1.ห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่จะระบุไว้ในสัญญา *ยกเว้น สามี ภรรยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ของลูกหนี้ฝ่าฝืนมีโทษ : จำคุกสูงสุด 1 ปี หรือปรับสูงสุด 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ห้ามส่งเอกสารทวงหนี้แบบเปิดผนึก แสดงข้อความ/โลโก้บนจดหมาย ที่สื่อว่าทวงหนี้ฝ่าฝืนมีโทษ : […]

ทวงหนี้ – แบบถูกกฏหมายที่คนทำแผงเช่าต้องรู้ Read More »

ทำสัญญาออนไลน์ – เซ็นชื่อออนไลน์มีผลทางกฎหมายไหม?

ทำสัญญาออนไลน์ – เซ็นชื่อออนไลน์มีผลทางกฎหมายไหม? “มีผล” เนื่องจาก พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 8 การจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว ทำให้ลายเซ็นออนไลน์มีผลทางกฎหมายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเลือกทำการลงลายมือชื่อประเภทไหนก็มีผลทางกฎหมายเหมือนกัน ต่างกันที่ความน่าเชื่อถือในการพิสูจน์หลักฐานทางกฎหมายที่ยุ่งยากไม่เท่ากัน โดยประเภทที่ต้องพิสูจน์มากไปน้อยจะเรียงลำดับตามนี้ ประเภทที่ 1,2,3 ตามลำดับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออะไร? “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น (อ้างอิงจาก)“ 3 ประเภทของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA หน่วยงานหลักในการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมออนไลน์ของประเทศ ได้แบ่งประเภทความน่าเชื่อถือของการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 3 ประเภท โดยแต่ละประเภทมีการใช้มาตราแห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ต่างกันไป ดังนี้ ประเภทที่ 1 1.แบบทั่วไป กฎหมายระบุว่า “ต้องใช้วิธีการที่น่าเชื่อถือในการสร้าง” เช่น การตั้งรหัสเข้าใช้บริการ (รหัส ATM) การป้อนข้อมูล One Time Password

ทำสัญญาออนไลน์ – เซ็นชื่อออนไลน์มีผลทางกฎหมายไหม? Read More »

เสือนอนกิน ในศตวรรษที่ 21 เจ้าของตลาดยังเป็นเสือนอนกินอยู่ไหม?

การปล่อยที่ให้เช่าอย่างการทำตลาดยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่

เสือนอนกิน ในศตวรรษที่ 21 เจ้าของตลาดยังเป็นเสือนอนกินอยู่ไหม? Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top